ดร.ตฤณ ก้านดอกไม้ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. มอบหมายให้ นายธีรดนย์ ศรีฟ้า ผู้อำนวยการกลุ่มคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และนางสาวอรอนงค์ ศรีทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. เข้าร่วมประชุมพิจารณาแนวทางดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการแผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน

ข่าวอัพเดท


คำสำคัญ


วันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม 2566 เวลา 09.30 นาฬิกา ดร.ตฤณ ก้านดอกไม้ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. มอบหมายให้ นายธีรดนย์ ศรีฟ้า ผู้อำนวยการกลุ่มคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน ครูและบุคคลากรทางการศึกษา และนางสาวอรอนงค์ ศรีทอง เจ้าหน้าที่ศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. เข้าร่วมประชุมพิจารณาแนวทางดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการแผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน โดยมี นายธีรยุทธ สำราญทรัพย์ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 3201 อาคาร 3 ชั้น 2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร
โดยมีประเด็นความสำคัญ ดังนี้
1)ตามรายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ-ส่งนักเรียน เสนอแนะให้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการขนส่งทางบก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล บูรณาการความร่วมมือเพื่อพิจารณาแนวทางจัดทำแผนความปลอดภัยและการแก้ไขกฎระเบียบการพัฒนาระบบจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนให้มีความปลอดภัย และสนับสนุนหลักเกณฑ์การจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนปลอดภัยทั้งระบบ
2)ผู้แทนกรมป้องกันและบรราเทาสาธารณภัยได้นำเสนอรายละเอียดในแผนแม่บทความปลอดภัยทางท้องถนน พ.ศ.2565-2570 Thailand Road Safety Master Plan 2022-2027 มี 4 ยุทธศาสตร์ 1) มุ่งเป้าลดการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสของผู้ใช้รถใช้ถนน 2)ยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ 3) พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและการเดินทางที่ยั่งยืน 4) พัฒนารากฐานโครงสร้างการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนน
3)ผู้แทนศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. และผู้แทนสำนักอำนวยการ รายงานการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1) การจัดทำระบบฐานข้อมูลรถรับ-ส่งนักเรียน 2) การกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งมีบทบาทและอำนวจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบและกำกับดูแลมาตรการด้านความปลอดภัยของรถรับ – ส่งนักเรียน 3) การพัฒนาหลักสูตรชุดความรู้ที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดการระบบรถรับ-ส่งนักเรียนปลอดภัย 4) การพิจารณาจัดสรรงบประมาณการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นค่าเดินทาง รถรับ-ส่งนักเรียน
4)ประธานในที่ประชุม ให้ฝ่ายเลขานุการพิจารณาประมวลข้อมูลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน และจะให้ส่งข้อมูลให้แต่ละหน่วยงานพิจารณา (ร่าง) แผนการดำเนินการ ว่าสิ่งใดสามารถปฏิบัติได้หรือสิ่งใดไม่สามารถปฏิบัติได้ หรือสิ่งใดกำลังดำเนินการ และเรื่องใดมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร ติดขัดในเรื่องประเด็นใด ผ่านทางกลุ่มไลน์ (Line) ที่มีผู้แทนของแต่ละหน่วยงานเข้าร่วม และจะรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานข้อมูลให้คณะรัฐมนตรีทราบและพิจารณาต่อไป