ดร.ตฤณ ก้านดอกไม้ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ ศป.สพฐ. “รองเดชา” ผอ.กลุ่มอำนวยการ และ บุคลากร ศป.สพฐ. เข้าร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพจิตของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 3/2566

ข่าวอัพเดท


คำสำคัญ


วันที่ 8 มกราคม 2567 ดร.ตฤณ ก้านดอกไม้ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. นายเดชา ปาณะศรี รองผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. พร้อมด้วย นางธนาภรณ์ อรรคฮาต ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ ศป.สพฐ. และนางสาวสรารัตน์ กิริยาเลิศ นักวิชาการศึกษา ศป.สพฐ. เข้าร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพจิตของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 3/2566 โดยมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมฯ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ โดยในที่ประชุมฯ มีการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำข้อมูลและผลิตสื่อสารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตของครูและนักเรียน โดยศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่เครือข่ายนักนักจิตวิทยาประจำโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่ผ่านมาว่า
กิจกรรมที่ 1 การจัดทำหลักสูตรสำหรับการอบรมด้านจิตวิทยาเด็กร่วมกับกรมสุขภาพจิต ผลการดำเนินงานของกิจกรรมแรก สพฐ. มีหลักสูตรการอบรมด้านจิตวิทยาเด็กสำหรับใช้ในการอบรมที่นักจิตวิทยาประจำโรงเรียน และ ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพท. และวันที่ 22 – 24 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาความรู้และทักษะด้านจิตวิทยา โดยแบ่งเป็น 2 คือ กลุ่มที่ 1 อบรม ผอ. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพท. 245 คน และกลุ่มที่ 2 อบรมนักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 คน ผลการดำเนินงานที่ได้จากการจัดอบรมและผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับดีมาก ผอ.กลุ่มส่งเสริมฯ และนักจิตวิทยาฯ มีความรู้และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหานักเรียนด้านจิตวิทยา พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายในเขตพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมที่จะดำการดำเนินงานในระยะต่อไป จะเป็นการขยายผลการจัดอบรมออนไลน์การพัฒนาความรู้และทักษะด้านจิตวิทยาให้ทุก สพท. โดยจะขยายผลไปยังครูทุกโรงเรียน ๆ ละ 2 คน (ครู 60,000 คน) และจะขยายผลไปยังครู และบุคลากรทุกคน (ครู 55,000 คน) โดยมีระบบติดตามงานผ่านกระบวนการ PLC และมีการถอดบทเรียนโดย Case Conferrence เป้าหมาย ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษามีความปลอดภัย และผลที่คาดว่าจะได้รับ ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความรู้ มีทักษะ ในการป้องกันภัยภายใต้มาตรการ 3 ป (ปกป้อง ปลูกฝัง และปราบปราม)