การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม การจัดการศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัด สพฐ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ข่าวอัพเดท


คำสำคัญ


วันที่ 3 กันยายน 2567 นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม การจัดการศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัด สพฐ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมดิ ไอเดิล โฮเท็ล แอนด์ เรสซิเดนซ์ จังหวัดปทุมธานี โดยมี ดร.ตฤณ ก้านดอกไม้ ผอ.ศสป.สพฐ. นางกรวรรณ ใสยจิตต์ ผู้อำนวยการกลุ่มป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศสป.สพฐ. ดร.สุภัคพร นิธิพัฒนกาญจน์ รองผอ.สพม.ปทุมธานี และนางสาวดำหริ จันทชูโต รองผอ.สพม.ปทุมธานี ให้การต้อนรับในครั้งนี้

การประชุมดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ส่งเสริม ศักยภาพ ด้านแนวคิด การแสวงหาความรู้ พัฒนางานอย่างเป็นระบบของผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาหรือผู้รับผิดชอบ ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างหนักในปัจจุบัน และเพื่อพัฒนาส่งเสริม ศักยภาพ ในการจัดทำรูปแบบหรือนวัตกรรม หรือแนวทางวิธีการในการดำเนินงานคุ้มครอง และช่วยเหลือเด็กนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด

นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่และภัยจากไซเบอร์ สพฐ. ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็นไปอย่างเต็มศักยภาพ และพัฒนา ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้มีทักษะเทคนิค วิธีการศึกษา วิเคราะห์สภาพการดำเนินงาน การจัดทำรายงานรูปแบบ หรือนวัตกรรม หรือแนวทางวิธีการในการดำเนินงานการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียนด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างชัดเจน และสร้างเครือข่ายการดูแลเด็กนักเรียนได้อย่างทั่วถึง รวมถึง
การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด (เหล้า/บุหรี่) ให้สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางที่กำหนด