วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือด้านการคุ้มครองเด็ก ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) นำโดย นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน นายอุเทน ชนะกุล รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พร้อมด้วยนางสาวอรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเด็ก นายตฤณ ศรีวงศ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายนรภัทร แหวนหล่อ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป กองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว นางสาวสุธิดา ศรีมงคล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบการคุ้มครอง กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน นางสาวกฤษณ์วรรณ วรมิศร์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน และนางสาวนภัสสร เอี่ยมอุดม นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ กองคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยมี นายตฤณ ก้านดอกไม้ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย สพฐ. นายวันศักดิ์ คำแหง รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย สพฐ. นายอนุพงษ์ คล้องการ รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารความสุขและความปลอดภัย สพฐ. และนายธีรดนย์ ศรีฟ้า ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมความสุขและความปลอดภัย และคณะผู้บริหารของ สพฐ. เข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการ สพฐ. อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ
โดยในที่ประชุมมีข้อหารือ อาทิ การขับเคลื่อนงานร่วมกันระหว่างสภาเด็กและเยาวชน (ของ ดย.) และสภานักเรียน (ของ สพฐ.) การดำเนินงานด้านการคุ้มครองเด็กของสถานศึกษา เพื่อขับเคลื่อนกรอบในการทำงาน “เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน: เด็กน้อย แต่เปี่ยมด้วยคุณภาพ” ของ ดย. รวมถึงการส่งเสริมและเชื่อมโยงภารกิจงานของ สพฐ. และ ดย. ให้มีการขับเคลื่อนด้านการคุ้มครองเด็กของสถานศึกษาร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป.
ทั้งนี้ ได้มีการเสนอแนวทางความร่วมมือด้านการคุ้มครองเด็ก ระหว่าง สพฐ. และ ดย. โดยนำ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาแผนงานความร่วมมือ ดังนี้.
1. โรงเรียนสามารถมีการจัดกิจกรรม ดังนี้
1.1 การส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้เวลากับเด็กมากขึ้น
1.2 การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กหลังเลิกเรียน
1.3 การจัดให้เด็กมีส่วนร่วมในการกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง จัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน.
2. โรงเรียนคุ้มครองเด็ก ดังนี้
2.1 กำหนดพื้นที่ปลอดภัย และกฎแห่งความปลอดภัย
2.2 การจัดกิจกรรมระหว่างครูนักเรียน และนักเรียนด้วยกัน
2.3 การติดตามดูแลกรณีเด็กหรือครูมีพฤติกรรมปกติ เช่น ก้าวร้าวรุนแรง รังแก หนีโรงเรียน เป็นต้น โดยทำงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็กฯ.
3. กลไกการขับเคลื่อน ดังนี้
3.1 การกำหนดผู้แทนหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด (ผู้อำนวยการเขตพื้นที่หรือศึกษาธิการจังหวัด)
3.2 การฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเด็ก บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การเลี้ยงดูเด็กโดยไม่ใช้ความรุนแรงการช่วยเหลือและการประสานส่งต่อเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือและสวัสดิการสังคม
3.3 การพัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียนผ่านสภาเด็กและเยาวชน หรือสภานักเรียนในพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน
3.4 การทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ผ่านศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็กระดับตำบล.
โดยจะริเริ่มโครงการในรูปแบบของจังหวัดนำร่องก่อน.
อีกทั้ง มีการเสนอแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนสภาเด็กและเยาวชนในอนาคต ดังนี้
1. สนับสนุนการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชน สนับสนุน ส่งเสริมให้ นักเรียนเข้าร่วมการคัดเลือก คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ เข้าร่วม กิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน
2. สนับสนุนบุคลาร่วมดูแลนักเรียนในการเข้าร่วม การคัดเลือกคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับ/กิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน
3. สนับสนุนสภานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน
4. ร่วมประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาเด็กและเยาวชน
5. สนับสนุนโควตาเข้าศึกษาต่อ/ทุนการศึกษา ให้แก่ สภาเด็กและเยาวชนผู้ที่มีจิตสาธารณะ หรือมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ