ศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. เข้าร่วมการอบรมชี้แจงรายละเอียดและแนวทางการใช้เอกสารทางกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ข่าวอัพเดท


คำสำคัญ


วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. ดร.ตฤณ ก้านดอกไม้ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย สพฐ. มอบหมายให้ 1) นายธนาณัติ วงศ์ถามาตย์ นักวิชาการศึกษา กลุ่มบริหารเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ฯ ศป.สพฐ. 2) นางสาวสรารัตน์ กิริยาเลิศนักวิชาการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนา ศป.สพฐ. 3) นางสาวภาวิณี ประเสริฐศักดิ์ เจ้าหน้าที่ กลุ่มอำนวยการ ศป.สพฐ. เข้าร่วมการอบรมชี้แจงรายละเอียดและแนวทางการใช้เอกสารทางกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในการอบรมส่วนที่ 1 Introduction ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคาร รัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมในครั้งนี้
โดยมีประเด็นความสำคัญ ดังนี้

  1. สืบเนื่องจาก พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ และ สพฐ. โดย สทร. ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Control) จึงได้ดำเนินการจัดการอบรมชี้แจงรายละเอียดและแนวทางการใช้เอกสารทางกฎหมายให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA Checklist) ในครั้งนี้
    เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติ และประยุกต์ใช้เอกสารทางกฎหมาย ความถูกต้องของระเบียบและการบังคับใช้ให้เป็นตามกฎหมาย ให้กับทุกหน่วยงานในสังกัด สพฐ. ทั้งในส่วนกลางและในระดับภูมิภาค ซึ่งการขับเคลื่อนการศึกษายุคใหม่โดยใช้เทคโนโลยีในระยะเวลาอันใกล้ สทร. เป็นผู้รับผิดชอบโครงสร้างและแพลตฟอร์ม (Structure & Platform) ทั้งหมด โดยจะเชื่อมโยงและเป็นศูนย์กลางรวมข้อมูลทั้งหมด
  2. การปรับปรุง (Update) กฎหมายลำดับรองภายใต้ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวกับ สพฐ. ทั้งหมด 13 ข้อ มีข้อสำคัญ ได้แก่
    • มาตรฐานขั้นต่ำในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
    • หลักเกณฑ์และวิธีในการแจ้งเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565
    • พระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ
      บางส่วนมาบังคับใช้ พ.ศ. 2566
  3. การประยุกต์ใช้เอกสารทางกฎหมายให้เข้ากับการปฏิบัติงานเบื้องต้น มีข้อสำคัญ ได้แก่
    • การรายงานเอกสารทางกฎหมายพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
    • การประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice)
    • แบบฟอร์มการขอความยินยอม (Consent Form) ในข้อมูลที่มีความอ่อนไหว
    • คำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject’s Rights Access Request)